ดนตรีและนาฏศิลป์ประเทศมาเลเซีย
สัมผัสการแสดงศิลปะการดนตรีที่น่าตื่นตาตื่นใจ
ดนตรีและนาฏศิลป์รูปแบบต่างๆ ของมาเลเซียคือสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงมรดกทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมที่หลากหลายของมาเลเซียได้เด่นชัดที่สุด การเต้นรำของชาวมาเลย์ ชาวโอรังอัสลี และชนพื้นเมืองเผ่าต่างๆ ในรัฐซาบาห์และซาราวักเป็นการแสดงที่เปี่ยนด้วยเสน่ห์และมนต์ขลังอย่างแท้จริง ในขณะที่ศิลปะการเต้นรำแบบดั้งเดิมของชาวจีน ชาวอินเดีย และชาวโปรตุเกสกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและมรดกของมาเลเซียด้วยเช่นกัน
ดนตรี
วงดนตรี
มาเลเซียมีวงดนตรีพื้นเมืองสองชนิดได้แก่ วงกาเมลัน และวงโนบัต วงกาเมลันมีต้นกำเนิดมาจากประเทศมาเลเซีย โดยเป็นวงดนตรีแบบดั้งเดิมซึ่่งเล่นดนตรีจังหวะเบาๆ เครื่องดนตรีที่ใช้ได้แก่ ฆ้องและเครื่องสาย ส่วนโนบัตคือวงดนตรีในราชสำนักซึ่งเล่นเพลงทางศาสนาที่เคร่งขรึมมากกว่าโดยเล่นให้แก่ราชสำนักเป็นหลัก เครื่องดนตรีที่ใช้ได้แก่ ปี่เซรูไนและปี่นาฟิริเรบานา อูบิ
ในสมัยอาณาจักรมาเลเซียโบราณ ชาวมาเลเซียใช้เสียงดังก้องของกลองเรบานา อูบิขนาดใหญ่เป็นสัญญาณต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณเตือนอันตราย ไปจนถึงการประกาศให้ทราบว่ามีงานแต่งงาน ต่อมาจึงกลายมาเป็นเครื่องดนตรีสำหรับใช้ในงานแสดงต่างๆคอมปัง
คอมปังคือเครื่องดนตรีดั้งเดิมของมาเลเซียที่ได้รับความนิยมมากที่สุด มักใช้กันอย่างแพร่หลายในงานรื่นเริงต่างๆ เช่น ในขบวนพาเหรดงานวันชาติ งานเลี้ยงที่เป็นทางการ และงานแต่งงาน คอมปังมีลักษณะคล้ายกับกลองแทมโบรีน แต่ไม่มีแผ่นโลหะสำหรับให้เสียงโลหะกระทบ พบได้บ่อยที่สุดในการแสดงของวงดนตรีขนาดใหญ่ ซึ่งจำเป็นต้องมีสร้างจังหวะที่แตกต่างกันเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างเสียงและจังหวะหลายๆ ชั้นพิณกัมบัส
ผู้ที่นำพิณกัมบัสเข้ามาในประเทศมาเลเซียคือชาวเปอร์เซียและพ่อค้าจากตะวันออกกลาง พิณกัมบัสหรือพิณอารเบียนี้สามารถเล่นเพลงพื้นเมืองของมาเลเซียได้หลายแบบ ส่วนใหญ่จะใช้เป็นเครื่องดนตรีที่ให้เสียงนำในวงกาซัล การผลิตพิณกัมบัสนั้นต้องอาศัยความละเอียดปราณีต เนื่องจากเครื่องดนตรีชนิดนี้ทำจากไม้หลายชนิด ให้เสียงที่นุ่มนวลคล้ายกับเสียงจากฮาร์ปซิคอร์ดพิณซาเป
ซาเปคือพิณชนิดหนึ่งของชนเผ่าโอรังอูลู หรือชนเผ่าที่ที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำในรัฐซาราวัก ซาเปเป็นเครื่องดนตรีที่ทำจากไม้ท่อนเดียวนำมาเจาะเป็นโพรง และแกะเป็นช่อง มีลวดลายสีสันสดใส ในอดีต พิณซาเปใช้บรรเลงเดี่ยวๆ ในพิธีรักษาโรค โดยเล่นในบ้านยาวของเผ่า ต่อมาจึงค่อยๆ กลายมาเป็นเครื่องดนตรีสำหรับบรรเลงในงานรื่นเริงในเวลาต่อมา ใช้บรรเลงเป็นเสียงดนตรีหลักในระบำต่างๆ เช่น ระบำงายัตและดาตัน ยูลัดนาฏศิลป์
มักยองของชาวมาเลย์
มักยองมีถิ่นกำเนิดในจังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นจังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย ในอดีตเคยเป็นการแสดงที่สร้างความบันเทิงให้แก่พระราชินี และธิดาของกษัตริย์ และสตรีในพระราชวังเมื่อผู้ชายออกไปสู้รบในสงคราม การแสดงจะผสมผสานเรื่องราวความรัก การรำ การขับร้อง และเรื่องเล่าในยุคที่มาเลเซียรุ่งเรืองเข้าด้วยกันจนกลายเป็นนาฏศิลป์ที่มีเสน่ห์น่าชมกูดาเคปัง
กูดาเคปัง คือศิลปะการร่ายรำที่่ชาวชวานำเข้ามาเผยแพร่ในรัฐยะโฮร์ การแสดงจะบอกเล่าเรื่องราวชัยชนะในสงครามศักดิ์สิทธิ์ของอิสลาม ผู้แสดงจะนั่งคร่อมบนม้าปลอมและร่ายรำไปตามจังหวะของเครื่องดนตรีประเภทเคาะ ซึ่งมักประกอบด้วยกลอง ฆ้อง และอังกะลุงซาปิน
ซาปิน การแสดงที่ได้รับความนิยมในรัฐยะโฮร์ กล่าวได้ว่าเป็นการร่ายรำดั้งเดิมของมาเลเซียที่สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้อย่างเด่นชัดที่สุด การแสดงชนิดนี้แพร่หลายเข้ามาในประเทศมาเลเซียเมื่อมิสชันนารีมุสลิมจากตะวันออกกลางเข้ามาเผยแผ่ศาสนา จุดประสงค์ในการแสดงคือการสวดมนต์และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของอารธรรมอิสลามโยเก็ต
โยเก็ตคือศิลปะการร่ายรำแบบดั้งเดิมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของมาเลเซียเพราะเป็นการร่ายรำในจังหวะที่สนุกสนาน นักแสดงหลายคู่ ซึ่งจะเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว สวยงาม เน้นอารมณ์ขัน การแสดงชนิดนี้มีต้นกำเนิดมาจากการเต้นรำของชาวโปรตุเกส แพร่หลายในมะละกาในยุคที่มีการค้าเครื่องเทศตาเรียนลิลิน
ตาเรียนลิลินรู้จักในอีกชื่อหนึ่งคือ การรำเทียน ผู้แสดงจะเป็นผู้หญิง ซึ่งจะต้องร่ายรำอย่างอ่อนช้อย ในขณะเดียวกันก็ต้องพยายามไม่ให้เทียนในจานเล็กๆ ล้มลงมาซิลาด
ซิลาดคือหนึ่งในศิลปะการต่อสู้ดั้งเดิมทีเก่าแก่ที่สุดของชาวมาเลย์ สามารถทำอันตรายคู่ต่อสู้ให้ถึงแก่ชีวิตได้ นอกจากจะเป็นศิลปะการต่อสู้แล้ว ซิลาดยังถือเป็นศิลปะการร่ายรำแขนงหนึ่งด้วย ผู้แสดงจะเคลื่อนไหวร่ายกายอย่างสง่างาม ตรึงผู้ชมให้หลงใหลในมนต์เสน่ห์และความสวยงามของท่วงท่า
